วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

แอรีส เทพเจ้าแห่งสงคราม

แอรีส

                                      เทพเจ้าแห่งสงคราม


 

        สงครามเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเตือนร้อนไปกระจรกระจายไปทุกที่ มีผู้คนลักตายมากมายทั้งทหารและชาวบ้านที่ไม่รู้อีโน่อีเหน่อะไร เลือดเต็มสมรภูมิพอๆกับศพของผู้ที่ล้มตาย ชาวกรีกเชื่อว่าเมื่อเจ้าเหนือหัวของพวกเขาจะทำสงครามนั้นเป็นสัญญาณเตือนถึงความหายนะมากกว่าการที่จะดีใจว่า องค์เหนือหัวจะได้ชัยชนะเหนือเมืองประเทศราช
     ชาวกรีกเชื่อว่าความคิดและสิ่งบันดาลให้เกิดสงครามนั้นเป็นเพราะ เทพแอรีสดลบันดาลให้เกิดสงคราม เพราะชาวกรีกเป็นชาติที่รักสงบนานๆทีจริงๆถึงจะมีสงครามบ้าง แต่เมื่อเขาเชื่อว่าสงครามเกิดเพราะเทพแอรีส แต่พวกเขาต้องการชัยชนะจึงมีการบูชาเทพีอธีน่าซึ่งพระเทพีเป็นเทพเจ้าแห่งชัยชนะเหนือสงครามอีกด้วย และที่สำคัญพระเทพียังเป็นคู่ปรับกับเทพแอรีสมาแต่ไหนแต่ไรอีกด้วย
     เทพแอรีสทรงเป็นพระโอรสในเทพซีอุสกับเทพีเฮร่า เทพแอรีสถึงจะเป็นเทพที่มีรูปลักษณ์สมชายชาตินักรบและสง่าก็ตาม แต่กลับไม่เป็นที่รักและโปรดปรานของผู้เป็นบิดา เทพซีอุสเคยกล่าวว่า
   "เจ้าเป็นลูกที่ข้าชังที่สุดในบรรดาลูกๆของข้า เพราะเจ้าโหดเหี้ยมและทารุณเหมือนแม่เจ้าไม่มีผิด"
   เทพแอรีสถูกเทพซีอุสผู้เป็นบิดาไม่โปรดปรานและมักจะเอาตนไปเปรียบกับเทพีอธีน่าซึ่งมีความงดงามและสง่าแต่มีสติปัญญาและฉลาดมีคุณธรรมและความกรุณากว่า เทพแอรีสจึงอิจฉาและริษยาเทพีอธีน่าจึงกลายเป็นอริมาโดยตลอดแต่บรรพกาล เวลาเจอกันทีไรก็ต้องทะเลาะกันอยู่เรื่อย ครั้งหนึ่งเทพแอรีสเจอกับเทพีอธีน่าและเกิดความไม่พอใจกัน เทพแอรีสกริ้วจึงขว้างจานหินใหญ่ใส่ แต่เทพีอธีน่าผู้ทรงปัญญาหลบทัน พระเทพีโมโหเป็นไฟจึงยกหินก้อนใหญ่ทุบใส่เทพแอรีสไปกองกับพื้น คงเพราะเป็นเช่นนี้เทพแอรีสมักจะแพ้ทางเทพีอธีน่าบ่อยครั้ง ชาวกรีกจึงบูชาเทพอธีน่าเพราะจะได้มีชัยชนะแห่งเดียวกับพระองค์ ซึ่งหากบูชาเทพแอรีสอาจพ่ายแพ้เช่นเดียวกับพระองค์      ถึงเทพแอรีสจะไม่เป็นที่นิยมบูชากันในเหล่าชาวกรีก แต่ยังเป็นเทพที่ชาวกรีกกลัวและไม่ชอบเช่นเดียวกับเทพฮาเดสอีกด้วย แต่พระองค์กลับได้เป็นนิยมบูชาในอาณาจักรโรมัน เพราะชาวโรมันนั้นชอบทำสงครามพวกเราจึงเชื่อว่า เทพแอรีส เป็นบิดาและผู้ให้กำเนิดชาวโรมัน ยังมีตำนานการตำนานอาณาจักรโรมันที่ยิ่งใหญ่ที่เล่าเกี่ยวข้องกับเทพแอรีสว่า พระองค์เป็นพระบิดาแห่งโรมิวลัสผู้ที่เป็นผู้บุกเบิกสร้างอาณาจักรโรมันขึ้นถือเป็นปฐมบรรพชนแห่งโรมัน ทุกคนยังจำกันได้ในรูปปั้นหรือรูปแกะเด็กดูดนมแม่หมาป่า เด็ก1ใน2นั้นเป็นโรมิวลัสนั้นเอง เขารอดมาได้จากความเมตตาของแม่หมาป่า เขาก้าวขึ้นสู่จุดสูงสุดเขาทำให้อาณาจักรอันเกรียงไกรที่สุดแห่งประวัติศาสตร์
เทพแอรีสเวลาท่านมาปรากฏสถิตยังสมรภูมิมักจะทรงราชรถม้าลงจากโอลิมปัส เหล่าทวยเทพเมื่อพบเทพแอรีสกำลังสวมชุดเกราะอันเงางามแล้วหยิบดาบให้ฟักล่ะก็แสดงว่า จะต้องมีสงครามเกิดขึ้นที่โลกมนุษย์ เหล่าเทพก็จะพากันมาดูและพนันกันว่าฝ่ายใดจะชนะและฝ่ายใดปราชัย เทพแอรีสจะมีลูกน้องคนสนิทที่ตามพระองค์ด้วยคือ เดมอส เทพเจ้าแห่งความกลัว และ โฟบอส เทพเจ้าแห่งความสยดสยอง บางตำนานก็ว่าเทพทั้งสองเป็นพระโอรสแห่งเทพแอรีส 
     เทพแอรีสไม่เคยยกย่องสตรีใดมาเป็นพระชายาอย่างออกหน้าแต่ในตำนานเทพได้กล่าวถึงพระองค์ทรงเล่นชู้กับเทพีผู้มีสวามีอยู่แล้ว พอพูดอย่างนี้คงจะทราบกันดี จะหนีใครได้พ้น เทพีองค์นั้น คือ เทพีอโพรไดทิ เทพเจ้าแห่งความงามและความรัก ความจริงและเทพีอโพรไดทิเล่นชู้กับเทพเจ้ามากมายและยังมาถึงมนุษย์ด้วย เพราะพระเทพีทรงเป็นความรักที่ร้อนแรงด้วยความสัมผัสและโลกีย์ แต่ก็น่าเห็นใจพระเทพีอยู่เช่นกันที่ว่าพระองค์มีพระสวามีเป็นเทพพิการอย่างเทพฮีฟีสทัส เทพเจ้าแห่งการช่าง เมื่อมาเจอกับเทพแอรีสผู้รูปงามสมชาติบุรุษ พระองค์จึงมอบใจมอบกายให้แก่เทพแอรีส และยังให้กำเนิดพระโอรสด้วยกันคือ เทพบุตรอีรอส เทพเจ้าแห่งความรักอีกด้วย      ในตำนานเล่าว่า เมื่อเทพีอโฟรไดทิมีความสัมพันธ์กับเทพแอรีสอย่างลับ เท่ากับว่าพระเทพีสวมเขาให้เทพฮีฟีสทัสผู้เป็นสวามี เทพแอรีสได้ส่งเทพอเล็กไทรออนให้เฝ้าเป็นยามในขณะที่เทพแอรีสกับเทพีอโฟรไดทิเล่นบรรเลงเพลงรักกันบนเตียง และให้อล็กไทรออนแจ้งหากมีใครมาเพื่อที่จะได้หนีทัน แต่ปรากฏว่าเทพอเล็กไทรออนเกิดหลับยาม เมื่อเทพอะพอลโลผ่านมาด้วยแสงสว่างของพระองค์ทำให้พระองค์เห็นเทพแอรีสกับเทพีอะโฟรไดทิหลับนอนด้วยกันก็ไปบอกกับเทพฮีฟีทัส เทพฮีฟีทัสรู้ว่าตนถูกสวมเขาจึงสร้างแหทองคำและมาครอบทั้ง 2 พระองค์ไว้และประจาญให้เหล่าทวยเทพมารับรู้ถึงการกระทำอันชั่วร้ายของทั้งสองพระองค์ เทพแอรีสได้รับความอับอายจึงสาปให้เทพอเล็กไทรออนผู้แอบหลับยามกลายเป็นไก่ จึงเป็นที่มาว่าทำไมไก่จึงขันเป็นสัญญาณเตือนถึงวันใหม่เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏ....
*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น